ของเสียที่เป็นอันตรายที่ถูกผลิตขึ้นจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ส่วนใหญ่จะถูกกำจัดภายในประเทศของผู้ผลิตของเสียเอง แต่มีบางส่วนจะถูกขนส่งนำไปกำจัดนอกประเทศของผู้ผลิตของเสีย ซึ่งจะมีทั้งที่นำไปกำจัด โดยได้รับอนุญาตจากประเทศเจ้าของสถานที่ เพื่อทำการกำจัดอย่างถูกวิธี และนำเข้าไปกำจัดโดยไม่ได้ขออนุญาตจากประเทศเจ้าของสถานที่ สำหรับวิธีหลังนี้มักจะเป็นการนำของเสียไปทิ้งไว้ โดยไม่มีการกำจัดอย่างถูกวิธี และก่อให้เกิดปัญหาส่งแวดล้อมแก่ประเทศที่รับของเสียไปทิ้งไว้ โดยไม่มีการกำจัดอย่างถูกวิธี และก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมแก่ประเทศที่รับของเสียนั้นๆ ตามมา
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลจากปัญหาดังกล่าว ในระยะตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นต้นมา มีการส่งสินค้า ซึ่งเป็นเคมีภัณฑ์ ที่เสื่อมคุณภาพแล้ว หรือเคมีภัณฑ์ที่มีลักษณะไม่ตรงกับที่ระบุในฉลากกำกับภาชนะ จึงเป็นการส่อว่าจะมีของเสียแฝงเร้นเข้ามาในลักษณะการส่งเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ยังปรากฎว่าในบางครั้งไม่มีตัวตนของบริษัทนำเข้า หรือส่งออก ทำให้ไม่สามารถส่งสินค้ากลับคืนไปยังประเทศแหล่งที่มาได้ เนื่องจากเรายังไมีมีกฎหมายหรือมาตรการป้องกันการนำเข้า หรือนำผ่านของเสียที่เป็นอันตราย ทำให้เป็นภาระของประเทศไทยที่จะต้องหาวิธีการกำจัดของเสียเหล่านั้น
การขนส่งของเสียที่เป็นอันตรายข้ามแดน เพื่อนำไปทิ้งยังประเทศอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต นับเป็นปัญหาระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ จึงได้จัดทำอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้าย และการกำจัดของเสียที่เป็นอันตรายข้ามแดน (Basel convention on the Control of Transboundary Movements of Hazardous Wastes and Their Disposal) ขึ้นเพื่อกำหนดข้อตกลงระหว่างประเทศในการควบคุมการส่งออก นำเข้า และนำผ่านของเสียที่เป็นอันตรายข้ามแดน ให้ดำเนินการอย่างปลอดภัยและรัดกุม อาทิ จะต้องมีการระบรายละเอียดของผู้ผลิต ผู้รับ และลักษณะของเสียที่ชัดเจน และห้ามนำเข้า หรือส่งออก โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งมีบทลงโท ษสำหรับประเทศผู้ฝ่าฝืนข้อบังคับของอนุสัญญาด้วย
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลจากปัญหาดังกล่าว ในระยะตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นต้นมา มีการส่งสินค้า ซึ่งเป็นเคมีภัณฑ์ ที่เสื่อมคุณภาพแล้ว หรือเคมีภัณฑ์ที่มีลักษณะไม่ตรงกับที่ระบุในฉลากกำกับภาชนะ จึงเป็นการส่อว่าจะมีของเสียแฝงเร้นเข้ามาในลักษณะการส่งเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ยังปรากฎว่าในบางครั้งไม่มีตัวตนของบริษัทนำเข้า หรือส่งออก ทำให้ไม่สามารถส่งสินค้ากลับคืนไปยังประเทศแหล่งที่มาได้ เนื่องจากเรายังไมีมีกฎหมายหรือมาตรการป้องกันการนำเข้า หรือนำผ่านของเสียที่เป็นอันตราย ทำให้เป็นภาระของประเทศไทยที่จะต้องหาวิธีการกำจัดของเสียเหล่านั้น
การขนส่งของเสียที่เป็นอันตรายข้ามแดน เพื่อนำไปทิ้งยังประเทศอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต นับเป็นปัญหาระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ จึงได้จัดทำอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้าย และการกำจัดของเสียที่เป็นอันตรายข้ามแดน (Basel convention on the Control of Transboundary Movements of Hazardous Wastes and Their Disposal) ขึ้นเพื่อกำหนดข้อตกลงระหว่างประเทศในการควบคุมการส่งออก นำเข้า และนำผ่านของเสียที่เป็นอันตรายข้ามแดน ให้ดำเนินการอย่างปลอดภัยและรัดกุม อาทิ จะต้องมีการระบรายละเอียดของผู้ผลิต ผู้รับ และลักษณะของเสียที่ชัดเจน และห้ามนำเข้า หรือส่งออก โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมทั้งมีบทลงโท ษสำหรับประเทศผู้ฝ่าฝืนข้อบังคับของอนุสัญญาด้วย