บริษัทวีพีกรีนเทค จำกัด รับกำจัดของเสีย ภาคตะวันออก
Q1: อยากทราบหลักการทางวิศวกรรมที่ใช้ในการออกแบบระบบบำบัดน้ำชะขยะด้วยครับ
A1: การบำบัดน้ำชะขยะมูลฝอยด้วยกระบวนการทางชีววิทยา โดยส่วนใหญ่แล้วในประเทศไทยจะใชระบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) ซึ่งเกณฑ์การออกแบบที่ใช้ทั่วไป มีดังนี้
พารามิเตอร์ในการออกแบบและใช้ตรวจสอบระบบบำบัดน้ำชะขยะมูลฝอยแบบบ่อปรับเสถียร
พารามิเตอร์ |
บ่อบำบัดแบบไร้อากาศ (Anaerobic Pond) |
บ่อผึ่ง (Facultative Pond) |
บ่อใช้อากาศ (Aerobic Pond) |
บ่อบ่ม (Maturation Pond) |
ความลึก (เมตร) |
2 – 4 |
2 – 3 |
0.2 – 0.6 |
1 – 1.5 |
ระยะเวลาเก็บกักน้ำ (Hydraulic Retention Time) (วัน) |
220 – 680 |
30 – 40 |
40 – 50 |
– |
อัตราภาระบีโอดี (กรัม BOD5/ตารางเมตร/วัน) |
50 |
70 – 80 |
80 – 90 |
60 – 80 |
ประสิทธิภาพการลด BOD5 (ร้อยละ) |
50 |
70 – 80 |
80 – 90 |
60 – 80 |
pH |
6.5 – 7.5 |
6. 5 – 8.0 |
6.5 – 8.0 |
6.5 – 8.0 |
สารแขวนลอย (มิลลิกรัมต่อลิตร) |
30 – 150 |
30 – 150 |
30 – 200 |
30 – 300 |
การออกแบบระบบมักจะเริ่มด้วยการบำบัดโดยใช้บ่อบำบัดแบบไร้อากาศตามด้วยบ่อผึ่งตามด้วยบ่อใช้อากาศ และบ่อบ่มเพื่อตกตะกอนสาหร่ายและจุลินทรีย์ก่อนหมุนเวียนไปใช้ประโยชน์ในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย
ที่มา
- กรมควบคุมมลพิษ, การวิจัยและพัฒนาระบบกำจัดน้ำเสียจากมูลฝอยแบบประหยัดพื้นที่และค่าใช้จ่าย, 2543
- กรมควบคุมมลพิษ, คู่มือปฏิบัติการในการดูแลและเดินระบบฝังกลบขยะมูลฝอย, 2547
- กรมควบคุมมลพิษ, น้ำเสียชุมชนและระบบบำบัดน้ำเสีย, 2545
|
|
Q2: ประเทศไทยมีที่ใดบ้างที่ใช้วิธีกำจัดขยะมูลฝอยแบบเตาเผาขยะมูลฝอยแบบถูกต้องตามหลักวิชาการ A2: ปัจจุบันมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยโดยใช้เตาเผาอยู่ 3 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลนครภูเก็ต เตาเผามีความสามารถกำจัดขยะมูลฝอยวันละ 250 ตัน ให้บริการรองรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันดำเนินการโดยใช้งบประมาณจากกระทรวงมหาดไทยและเทศบาลฯ
- เทศบาลตำบลเกาะสมุย เตาเผามีความสามารถในการรองรับกำจัดขยะมูลฝอยวันละ 70 ตันต่อเตา มีจำนวน 2 เตาเผา ปัจจุบันยังดำเนินการด้วยงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทยและเทศบาล
- เทศบาลเมืองลำพูน ความสามารถในการกำจัดขยะมูลฝอยของเตาเผาวันละ 20 ตัน ปัจจุบันดำเนินการกำจัดด้วยงบประมาณของเทศบาลฯ
|
|
Q3: ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากขยะเทศบาลนั้นนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง A3: สัดส่วนองค์ประกอบขยะของขยะมูลฝอยประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ เป็นพวก เศษอินทรีย์ เศษอาหาร ซึ่งหากสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการเป็นปุ๋ยอินทรีย์ (สารบำรุงดิน) จะช่วยในการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้องกำจัดโดยวิธีอื่นปุ๋ยหมัก (สารบำรุงดิน) ที่ได้จากการหมักขยะมูลฝอยอินทรีย์ สามารถนำมาประโยชน์ได้หลายแนวทาง ซึ่งแยกได้ดังนี้
- เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ในดิน
- ช่วยลดปริมาณเชื้อโรคพืชบางชนิดในดิน
- ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดิน
- ช่วยในการปรับปรุงสภาพดิน
โดยช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหาร ทำให้ดินมีคุณสมบัติเหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช ส่งผลทำให้ผลผลิตสูงขึ้น ปุ๋ยหมักช่วยทำให้ดินมีคุณสมบัติเหมาะแก่การเพาะปลูก ดังนี้
- ดินมีการจับตัวกันอย่างเหมาะสม ทำให้การระบายน้ำและอากาศถ่ายเทได้ดี
- ดินมีความร่วนซุยดี
- ดินมีธาตุอาหารครบถ้วน ทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง
- ดินมีอินทรีย์สารต่างๆ อยู่อย่างครบถ้วน
การใช้ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
1.การใช้ปุ๋ยหมักกับการปลูกพืช ผัก และไม้ดอก ในแปลงปลูก เตรียมแปลงตามความต้องการ และโรยปุ๋ยหมักให้ทั่วแปลง หนาประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใช้จอบสับคลุกเคล้าให้ลึกประมาณ 20 เซนติเมตร และรดน้ำให้ทั่วแปลง หมักดินไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงนำพืชมาปลูกได้
2.การใช้ปุ๋ยหมักกับการปลูกพืชในกระถางผสมปุ๋ยหมักกับดินร่วนในอัตราส่วน 1:5 โดยปริมาตร รดน้ำให้ชุ่มและทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วจึงนำใส่ภาชนะหรือกระถางเพื่อปลูกพืชต่อไป
3.การใช้ปุ๋ยหมักกับพืชไร่และไม้ผล สามารถทำได้ 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ผสมปุ๋ยหมักลงในหลุมปลูก โดยใช้อัตราส่วนปุ๋ยหมักกับดิน เท่ากับ1:5 คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วจึงนำกิ่งพันธุ์ไม้ผลลงปลูก เมื่อปลูกเสร็จแล้วควรทำการคลุกดินบริเวณโคนต้นด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง
ระยะที่ 2 การใช้ปุ๋ยหมักระหว่างการเจริญเติบโตของต้นไม้ กล่าวคือ หลังจากปลูกไม้ผล หรือพืชไร่แล้ว ควรใส่ปุ๋ยหมักให้ปีละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย
|
|
Q4: อยากทราบว่าปรอทที่บรรจุในเทอร์โมมิเตอร์ หากมีการแตก เราจะมีวิธีการกำจัดและทำลายปรอทได้อย่างไร โดยผู้ที่กำจัดไม่ได้รับอันตรายจากสารปรอท และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม A2: ปรอท (Mercury) จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 หมายความว่า การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ครอบครองต้องได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมปรอทมีผลกระทบต่อสุขภาพเมื่อร่างกายได้รับสัมผัสปรอท และก่อให้เกิดการสะสมในร่างกายได้ ปรอทมีความเป็นพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำ และอาจมีผลเสียระยะยาวต่อระบบนิเวศในน้ำ
การได้รับปรอท |
อันตรายต่อสุขภาพอนามัย |
สัมผัสทางหายใจ |
การหายใจเข้าไป ทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจรุนแรง มีอาการเจ็บคอ ไอ เจ็บปวด เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนล้า หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ |
สัมผัสทางผิวหนัง |
การสัมผัสถูกผิวหนัง สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้ เป็นผื่นแดงและทำให้ปวดแสบปวดร้อน |
กินหรือกลืนเข้าไป |
การกินหรือกลืนเข้าไป ทำให้แสบไหม้ปาก หลอดอาหาร ทำให้เป็นแผล มีอาการปวดท้อง อาเจียน และท้องร่วง ทำให้หัวใจเต้นอ่อนลง |
สัมผัสถูกตา |
การสัมผัสถูกตา ทำให้แสบไหม้ เป็นตาแดง และเจ็บปวด ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน |
การก่อมะเร็ง |
สารนี้มีผลทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ความจำเสื่อม บุคลิกภาพ และพฤติกรรมเปลี่ยน กระเพาะอาหารและลำไส้ผิดปกติ ผื่นแดง ทำลายสมองและไต |
การกำจัดกรณีรั่วไหล (Leak and Spill)
- ห้ามสูดดมไอระเหยของปรอท ไม่ควรสัมผัสกับสาร หากทำงานในห้องปิด ต้องแน่ใจว่ามีแหล่งอากาศบริสุทธิ์เพียงพอ
- ทำความสะอาดโดยสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสม
- ให้ใช้การ์ดพลาสติก หรือกระดาษแข็ง ตักปรอทที่หกรั่วไหลและะเก็บไว้ในภาชนะบรรจุที่แห้งและปิดมิดชิด เช่น ขวดแก้ว หรือใส่ถุงพลาสติกประมาณ 2 – 3 ชั้น ก่อนนำไปกำจัด
- สถานที่ทิ้ง สามารถนำไปทิ้งไว้ในภาชนะที่สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล เพื่อรวบรวมไว้กับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ชำรุดเพื่อรอกำจัดโดยสถานพยาบาลต่อไป หากไม่สะดวกหรือจำเป็นต้องทิ้งลงถังขยะภายในบ้านหรือที่ทิ้งขยะ ควรบรรจุในภาชนะหรือใส่ถุง และเขียนกำกับว่าเป็น “ของเสียอันตราย” โดยใส่ถุงแยกออกจากขยะทั่วไป เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการขยะนำไปกำจัดได้อย่างถูกวิธีตามหลักวิชาการต่อไป
- ป้องกันไม่ให้สารเคมีที่หกรั่วไหล ไหลลงสู่ท่อระบายน้ำ แม่น้ำ และแหล่งน้ำอื่น ๆ
- ให้ดูดซับส่วนที่หกรั่วไหลด้วยซัลเฟอร์ หรือแคลเซียม โพลีซัลไฟด์ เพื่อป้องกันอันตรายของปรอท
- การพิจารณากำจัด ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ทางราชการกำหนด
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
ควรสวมใส่ชุดป้องกันที่เหมาะสมกับบริเวณทำงาน โดยพิจารณาจากความเข้มข้นและปริมาณสารอันตรายที่ใช้ ควรมีการตรวจสอบความทนทานต่อสารเคมีของชุดป้องกันโดยตัวแทนจำหน่าย
|
|
หน้ากากป้องกันการหายใจ |
ถุงมือ |
|
|
ชุดป้องกันสารเคมี |
แว่นตานิรภัย |
สุขอนามัยทางอุตสาหกรรม ให้เปลี่ยนเสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีทันที ทาครีมป้องกันผิวหนัง ล้างมือและหน้าหลังจากการใช้สาร ทำงานภายใต้ตู้ควัน ห้ามสูดดมสาร ห้ามกินอาหาร/ดื่มในบริเวณทำงาน
การปฐมพยาบาล (First Aid)
การได้รับปรอท |
การปฐมพยาบาล |
หายใจเข้าไป |
ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ช่วยผายปอด ถ้าหายใจลำบาก ให้ออกซิเจนช่วย นำส่งไปพบแพทย์ทันที |
กินหรือกลืนเข้าไป |
ถ้ากินหรือกลืนเข้าไป กระตุ้นให้เกิดการอาเจียนทันที ห้ามไม่ให้สิ่งใดเข้าปากผู้ป่วยที่หมดสติ ให้ส่งไปพบแพทย์ทันที |
สัมผัสถูกผิวหนัง |
ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ฉีดล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำปริมาณมากอย่างน้อย 15 นาที พร้อมถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่ปนเปื้อนสารเคมีออก ส่งไปพบแพทย์ทันที ซักทำความสะอาดเสื้อผ้าก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ |
สัมผัสถูกตา |
ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ฉีดล้างตาทันทีด้วยน้ำปริมาณมากอย่างน้อย 15 นาที กระพริบตาถี่ ๆ นำส่งไปพบแพทย์ทันที |
การเกิดอัคคีภัยและการระเบิด (Fire and Explosion)
ปรอทไม่ลุกไหม้ติดไฟ และเกิดการระเบิดที่เป็นอันตรายกรณีเกิดเพลิงไหม้ ให้เลือกใช้สารดับเพลิง/วิธีการดับเพลิงที่เหมาะสมสำหรับวัสดุที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ป้องกันมิให้น้ำที่ใช้ดับเพลิงไหลลงแหล่งน้ำบนดินหรือใต้ดิน ผู้ดับเพลิงต้องสวมใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจชนิดมีถังในตัว (SCBA) เปลวไฟในบริเวณใกล้เคียงอาจทำให้เกิดไอระเหยของปรอทและปรอทออกไซด์
|
|
Q5: ทราบได้อย่างไรว่าของเสียอันตรายที่ถูกควบคุมจากการเคลื่อนย้ายข้ามแดน (นำเข้า-ส่งออก) ของประเทศไทย A5: สามารถตรวจสอบได้จาก
- บัญชีรายการในภาคผนวก 1 และ 8 ตามอนุสัญญาบาเซล
- บัญชีรายการของเสียอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535
|
|
Q6: การส่งออกของเสียอันตรายออกไปต่างประเทศ จะตรวจสอบได้อย่างไรว่าประเทศผู้นำเข้า – ส่งออกเป็นประเทศตามอนุสัญญาบาเซลหรือไม่ A6: สามารถตรวจสอบรายชื่อประเทศที่ให้สัตตยาบันตามอนุสัญญาบาเซลได้จาก www.basel.int |
|
Q7: หากต้องการจะส่งออกเศษพลาสติกหลายชนิดปนกันไปยังประเทศจีนต้องขออนุญาตจากกรมควบคุมมลพิษด้วยพรือไม่ A7: การส่งออกเศษพลาสติกไปยังประเทศจีนไม่ต้องขออนุญาตจากกรมควบคุมมลพิษ เนื่องจาก เศษพลาสติกไม่ได้เป็นสินค้าหรือวัตถุอันตรายที่ขออนุญาตการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายใด ๆ แต่เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 112) พ.ศ. 2539 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2539 โดยจะอนุญาต ให้นำเข้าได้ตามความเห็นชอบของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งพลาสติกใช้แล้วที่จะนำเข้าต้องเป็นไปเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการอนุญาตนำเศษ เศษตัด และของที่ใช้ไม่ได้ ซึ่งเป็นพลาสติกไม่ว่าใช้แล้วหรือไม่ก็ตาม เข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2549 ฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2549 |
|
Q8: สถานที่รับกำจัด/บำบัด เก็บรวบรวมขนส่งของเสียอันตรายที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายมีที่ใดบ้าง A8: สามารถตรวจสอบสถานที่หรือตัวแทนที่ให้บริการรับกำจัด/บำบัด เก็บรวบรวมขนส่ง เสียของเสียได้จากเว็บไซด์กรมโรงงานอุตสาหกรรม http://www2.diw.go.th/iwmb/index.asp หรือสำนักงานโรงงานอุตสาหกรรมการรายสาขา 6 โทรศัพท์ 02202 4165, 02202 4242 |
|
Q9: สถานที่รับกำจัด/บำบัดของเสียอันตรายมีของทางราชการหรือไม่ อยู่ที่ไหนบ้าง ขอทราบทราบสถานที่ติดต่อ A9: สถานที่รับจัดการของเสียอันตราย ในปัจจุบันเป็นของภาคเอกชน แต่ต้องได้รับอนุญาติให้ประกอบกิจการจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อนดำเนินการ ตัวอย่างเช่น (ข้อมูลเมื่อพฤศจิกายน 2550) |
|